คำสอนด้านสังคมในงานประกาศข่าวดั ฉบับที่ 1


ศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์ คือ ศักดิ์ศรีของภาพลักษณ์พระเจ้า (สารออกอากาศวันพระคริสตสมภพ ค.ศ.1944  ของสมเด็จพระสันตะปาปา ปีโอที 11) ..มนุษย์จึงมีค่าเพราะสิ่งที่ตนเป็น (มีศักดิ์ศรี) ยิ่งกว่าเพราะสิ่งที่ตนมี (ทรัพย์สิน) เมื่อพินิจพิเคราะห์แบบอย่างของพระคริสตเจ้า เราจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า คุณค่าและเกียรติที่แท้จริงของมนุษย์อยู่ที่คุณภาพทางศีลธรรม คือ การปฏิบัติคุณธรรม คุณธรรมนี้เป็นมรดกร่วมกันของมนุษย์ คนชั้นสูงและคนต่ำต้อย คนรวยและคนจนสามารถปฏิบัติคุณธรรมได้ คุณธรรมจะนำไปสู่การรับรางวัลอันเป็นความสุขนิรันดร์" (คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคอ้างอิง โดยคุณพ่อสีลม ไชยเผือก ข้อ 6.1และข้อ 6.3.1)
                สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสกล่าวว่า "ความรัก ความเมตตาเป็นคุณธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดา คุณธรรมความดีทั้งหลาย" ในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติที่ผ่านมา เราก็ตระหนักได้ว่า มีทั้งความชื่นชมยินดีในการยกย่องคุณค่าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และความทุกข์ขมขื่น จากการละเมิดชีวิตผู้คนในแต่ละยุด แต่ละสมัย โดยผ่านทางกระแสวสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น
                เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1955 นางโรซา ปาร์ค หญิงผิวดำวัยสี่สิบ ได้ตัดสินใจกระทำในสิ่งที่สังคมประเทศสหรัฐอเมริกาในยุคนั้นไม่อนุญาต โดยไปนั่งที่นั่งด้านหน้าในรถประจำทาง ซึ่งสงวนไว้สำหรับคนผิวขาว แต่เมื่อหลายปีผ่านไป นักศึกษาได้ถามว่าเหตุใดเธอ จึงนั่งในที่นั่งตอนหน้าของรถบัสในวันนั้น คำตอบของเธอไม่ได้เป็นเรื่องของกระบวนการประท้วงเพื่อต่อต้านการเหยียดผิว ความประสงค์ของเธอในตอนนั้นเป็นสิ่งที่เรียบง่าย ทว่าลึกซึ้งเธอตอบว่า "เพราะว่าฉันเหนื่อย" แต่ความเหนื่อยของเธอไม่ได้หมายถึงเพียงร่างกาย หัวใจของเธอก็เหน็ดเหนื่อยทั้งชีวิตของเธอ เหนื่อยหน่ายกับการต้องเล่นตามกฎเกณฑ์ของลัทธิเหยียดผิว ซึ่งไม่ยอมรับความต้องการมีตัวตนที่แท้จริงของเธอ (จิตวิวัฒน์, หนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 23 ส.ค.2551) ผลตามมาคือ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ให้ความเสมอภาคและความเป็นธรรมแก่คนผิวดำ 22 ล้านคน ได้มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เทียบเท่าคนผิวขาว โดยภายใต้การนำของ ดร.มาร์ติน ลูเธอร์คิง
                ในวันที่ 17 เมษายน 2559 ที่ผ่านนี้ก็เป็นวันครบรอบ 2 ปี การถูกบังคับให้หายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ เป็นพี่น้องชาวกะเหรี่ยงจากพื้นที่ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ที่เป็นนักต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีของความเป็นคน เรียกร้องสิทธิของชนเผ่ากะเหรี่ยงที่อยู่ดูแลรักษาป่า  แต่ถูกกระทำให้หายสาบสูญจากเจ้าหน้าที่อุทยานที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้มึนอ ภรรยาและลูกๆ 4 คน อยู่สู้ชีวิตต่อไป
                เมื่อครั้งหนึ่งที่มึนอ ได้เรียกร้องขอความเป็นธรรมให้กับบิลลี่ ตามกระบวนการทางกฎหมาย แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่บอกว่า "เป็นแค่กะเหรี่ยงคนเดียวที่ตายจะมาทำให้ยุ่งยากทำไม" แล้ว มึนอ ก็ตอบว่า "กะเหรี่ยงก็เป็นคนเหมือนกับคุณไม่ใช่หรือ"  ความเป็นคนบ่งบอกถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นับแต่เกิดมาบนโลกนี้เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่ากัน เป็นดั่งพระฉายาลักษณ์ของพระ "พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาตามภาพลักษณ์ของพระองค์" (พระคัมภีมร์คาทอลิกฉบับสมบูรณ์,ปฐมกาลบทที่ 1 ข้อ 27) ท่านนักบุญยอห์นปอลที่ 2 พระสันตะปาปาเน้นย้ำเสมอว่า "การพัฒนาใดๆ ถ้าปราศจากการส่งเสริมศักดิ์ศรีมนุษย์ ถือว่าไม่ใช่การพัฒนา" สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเตือนใจอยู่เสมอว่า "เราไม่สามารถนิ่งดูดายกับความทุกข์ร้อนของคนยากจนยากไร้ เพราะเขาเป็นลูกของพระเช่นเดียวกับเรา" และพระองค์ยังเสริมว่า "เมื่อเราเข้าใจในความเป็นศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างแท้จริง เราก็จะมองผู้อื่นเป็นพี่น้อง เห็นสรรพสิ่งธรรมชาติเป็นดั่งพี่สาวน้องสาวของเรา ทำให้นึกถึงคำพูดของพี่น้องกะเหรี่ยงว่า " กินพออิ่ม นุ่งพออุ่น กินอยู่กับป่า รักษาป่า  กินอยู่กับน้ำ รักษาน้ำ" เป็นต้น
                ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ จะพบได้ก็อย่างน้อยผ่านทางความรัก ความเมตตา ตามความจริง ความจริงที่มีพระเจ้าสูงสุดและมีมนุษย์ที่เป็นภาพลักษณ์ของพระที่เราจำต้องรักและเมตตา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสกล่าวว่า "คนยากจนรู้สึกตัวเองมีศักดิ์ศรี มีค่าเพราะได้รับความรักความเมตตา" ครั้งหนึ่งมีผู้ถามมึนอ ภรรยาของบิลลี่(นักต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีของพี่น้องชาติพันธุ์) ว่า "คุณไม่รู้สึกอาฆาตแค้น เจ้าหน้าที่ ที่เป็นสาเหตุให้สามีถูกบังคับให้หายตัวไปหรือ" มึนอแม่ของลูก 5 คนตอบว่า "ชีวิต...เราเคารพไม่รู้สึกแค้น ไม่แบกความเคียดแค้นชิงชังนั่นหรอก แต่การกระทำที่เขาทำ เขาก็จะได้รับผลจากสิ่งนั้นเอง"  ท่านมหาตะมะ คานที กล่าวว่า "คนอ่อนแอไม่สามารถให้อภัย การให้อภัยเป็นคุณลักษณะของผู้เข้มแข็ง" ถึงกระนั้นบางคนชองอ้างรักเมตตา แล้วหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวตักเตือนด้วยเหตุผลต่างๆ นานา ดังนี้ก็เป็นการทำลายศักดิ?ศรีของความเป็นมนุษย์เช่นกัน จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างเสริมชีวิตผู้คนด้วยการที่จะกล่าวว่า ชีวิตนั้นเคารพ แต่การกระทำนั้นควรปลี่ยนแปลง ดั่งพ่อแม่ที่สอนลูกตีลูกด้วยความรักแตกต่างจากหลายครอบครัวที่คิดว่ารักลูกหลานด้วยการตามใจ ผลจึงต่างกันมากมาย อย่างไรก็ตามวิถทางจากเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นไปตามคำสอนของ น.เปาโล ที่เขียน จ.ม.ถึงชาวกาลาเทียว่า "ส่วนผลของพระจิตเจ้า คือความรัก ความชื่นชม ความสงบ ความอดทน ความเมตตา ความใจดี ความซื่อสัตย์ ความอ่อนโยนและการรู้จักควบคุมตนเอง" (กท. 5:22-23)